วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

สรุป บทที่ 10 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

10.1  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของนวัตกรรม
            บางครั้งอาจจะมีความสับสนในการใช้ความหมายระหว่างคำว่า นวัตกรรม และ ประดิษฐกรรม ตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นนักวิจัยและพัฒนาที่ทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถนำความคิดเหล่านั้นไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในโลกของความเป็นจริงได้
                  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษในโลกของอนาคตนั้นจะมีรูปแบบห้องเรียนเสมียน คือ ห้องเรียนไร้กำแพง อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จำเป็นจะต้องใช้วัตนกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศหลายอย่างบูรณา


10.2  รูปแบบการสือสารในอนาคต
อนาคตกับการทำงานและการใช้ข้อมูลข่าวสาร
            รูปแบบของการทำงานในอนาคตนั้นจะเน้นการทำงานบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูล สารสนเทศและความรู้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่อนาคตในโลกของการทำงานบนพื้นฐานของความเป็นจริง หากเรามองภาพในอนาคตจะพบว่า โลกของอนาคตนั้นจะเป็นการรวมตัวของการสื่อสารทุกชนิดไว้เป็นหนึ่งเดียว เช่น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตรวมกับเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะมีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) สำหรับการติดต่อสือสารด้วย Internet Broadband ไว้เกือบทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย ห้องสมุด สถานที่ทำงาน รถไฟฟ้าใต้ดิน ห้างสรรพสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงคลังข้อมูลขององค์กรได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้วัฒนธรรมในการทำงานของคนเปลี่ยนไป

สรุป บทที่ 9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

9.1  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
            รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม และทำให้ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น
            การพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เป็นการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อเสื้อผ้า บริการ การโฆษณาสินค้า การชำระเงิน การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งสินค้า เป็นต้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยี
           อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นการสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อเป้าหมายสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโจทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไปสถานภาพของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยประกอบด้วยการใช้เทคโนโลยีในสำนักงาน (Back office) การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต (Production process) การใช้เทคโนโลยีในขั้นตอนการขนส่งและการตลาด

            การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการจัดระบบการศึกษา (Education System) เป็นการทำงานตามขั้นตอน (Workflow) เป็นไปอย่างอัตโนมัตจนเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ช่วยสถาบันการศึกษา องค์การจัดการศึกษา องค์การจัดการศึกษา ตลอดจนผู้ศึกษาหรือผู้เรียนลดค่าใช้จ่ายจากการที่ใช้บริการผ่านเครือข่าย

สรุป บทที่ 8 กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

8.1  กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                   จริยธรรม หมายถึง ความพึงประพฤปฏิบัติตามค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยใช้วิชาจริยศาสตร์ศึกษาพฤติกรรมด้านคุณค่า สามารถวิเคราะห์ค่านิยมที่เป็นคู่กัน สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดีควรกระทำ และสิ่งใดควรละเว้น

8.2  อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
                   อาชญากรทางคอมพิวเตอร์ คือบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี แต่นำความรู้ ความเชี่ยวชาญนั้นไปใช้ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
            แฮกเกอร์ (Hacker) คือผู้ที่มีความชำนาญ และเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีมีความสนใจในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก และชอบทดสอบความรู้ใหม่ๆ หรือความชำนาญ โดยการเจาะระบบต่างๆเพื่อความสนุกสนานและการเรียนรู้ แต่ไม่ได้เข้าไปทำลายระบบ ซึ่งแฮกเกอร์มักเป็นผู้ที่ค้นพบช่องโหว่ หรือข้อผิดพลาดของระบบ
8.3  Cracker
            แครกเกอร์ (Cracker) คือผู้ที่มีเจตนาร้ายทำการเจาะ บุกรุกระบบ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์คนอื่นเพื่อเข้าไปทำลาย ขโมยข้อมูล สร้างความปั่นป่วนให้กับองค์กรที่เข้าไปก่อกวน
            การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่รูปแบบพื้นฐานที่พบเจอบ่อย ที่สุดจำพวกไวรัส ไปจนถึงการใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงบุคคลอื่น

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 7 เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการความรู้

        โลกยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ปัจจุบันความรู้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในทุกด้านส่งผลให้การศึกษา เรื่องเทคโนโลยีวารสนเทศเพื่อการจัดการองค์กรความรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อจัดการความรู้ยิ่งขึ้น
ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา            
    คำว่า ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา เป็นคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่ก็เป็นที่มาซึ่งกันและกัน ส่วนความรู้นั้นไม่ได้เป็นเพียงข้อมูลที่ทำให้คนรู้และเกิดความเข้าใจในสิ่งต่างๆเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่คนให้คุณค่าและให้ความเชื่อถือด้วยความสำคัญและประโยชน์ของการจัดการความรู้

7.1  เทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์
                การใช้ความรู้เป็นปัจจัยกำหนดการแข่งขันให้เกิดความมั่งคั่งทางปัญญาเป็นหลักในการดำเนินงานทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจ นอกจากนี้ความรู้ยังเป็นการชี้วัดความอยู่รอดขององค์กรได้เป็นอย่างดี
1.             ความสำคัญของการจัดการความรู้              
                  ความรู้ทางเทคโนโลยีและความรู้ทางด้านวิทยาการต่างๆ เป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาความรู้ใหม่ และเทคโนโลยีใหม่
2.             ประโยชน์ของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ส่งผลให้เกิดความรู้ใหม่ นวัตกรรม โดยมีการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยน และเผยแพรความรู้ส่งผลให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลในสังคมปัจจุบัน

สรุป บทที่ 6 การจัดการสารสนเทศและระบบสารสนเทศ

6.1  ระบบสารสนเทศ
        ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศ (Information System) มักเตรียมได้จากระบบคอมพิวเตอร์ จึงเรียก ระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์(CBIS : Computer-based Information Systems) ซึ่งก็คือ ระบบสารสนเทศที่ได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล ประมวลผลและส่งผลลัพธ์ออกมาและทำการประเมินผลสารสนเทศเพื่อนำผลย้อนมาปรับปรุงข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศตามที่องค์กรต้องการ

สรุป
                ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันทำให้มีการตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งาน โดยเฉพาะในภาคธุรกิจได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เป็นเครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องการดำเนินงานทุกระดับในองค์กร สารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานขององค์กรในยุคปัจจุบัน ระดับผู้ปฏิบัติงานจะใช้สารสนเทศในการปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ที่รับผิดชอบผู้บริหารต้องการใช้สารสนเทศในการวางแผนและสนับสนุนในการตัดสินใจ ผู้บริหารต้องตระหนักถุงความสำคัญและความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ส่งเสริมศักยภาพในการดำเนินงานขององค์กร จึงต้องมีการนำเทโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างสารสนเทศที่ต้องการ แต่ความต้องการสารสนเทศที่ค่อนข้างละเอียดเพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ผู้บริหารระดับกลางมีหน้าที่คอยควบคุมดูแลให้งานต่างๆ เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ต้องการสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผนระยะสั้นและใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ ส่วนผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่วางแผนกลยุทธ์ต้องการสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผนระบะบางหรือกำหนดนโยบายขององค์กรและสนับสนุนการตัดสินใจ ดังนั้นความต้องการสารสนเทศของผู้บริหารแต่ละระดับจึงไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะมาจากฐานข้อมูลเดียวกันก็ตาม ผู้บริหารองค์กรนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศของตนเองให้มีความทันสมัยและนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป บทที่ 5 ฐานข้อมูลและการสืบค้น

                       “ฐานข้อมูล คือ การรวบรวมข้อมูลที่เราต้องการจะจัดเก็บ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในการใช้งาน
                 “การสืบค้น คือ การค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งต่างๆ ที่จัดเก็บไว้กลับคืนมาด้วยวิธีการและเทคนิกอย่างเป็นขั้นตอน

5.1 http://www.youtube.com/  ฐานข้อมูล

 
5.2 http://www.google.com/  การสืบค้น


                  การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่กว้างขวางอย่างรวดเร็วโดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ สามารถดำเนินการได้จากทั่วทุกมุมโลกโดยผ่านเว็บไซต์ของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล โดยมีวิธีการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฐานข้อมูลกฤตภาค ฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศ และฐานข้อมูลทั่วไปในอินเตอร์เน็ต
 
สรุป
        ฐานข้อมูลกับการสืบค้นมีความสำคัญกับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ หรือต้องการหาข้อมูลประกอบการทำรายงาน ทำวิจัย และทำวิทยานิพนธ์ เมื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น จำมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าข้อมูลที่เราต้องการมีอยู่ในรูปแบบใดบ้าง ทั้งที่เป็นซีดีรอมและในอินเตอร์เน็ต เพื่อเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษา


สรุป บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต


4.1  อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิต

        อินเตอร์เน็ต (Internet)มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อถึงกันทั่วโลกลักษณะเสมือนใยแมงมุม โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียว แต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางโดยไม่กำหนดตายตัว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้


สรุป
                อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ยังคงมีการพัฒนาต่อไป เพื่อตอบสนองความต้องการทีมีมากขึ้นทุกขณะ จะมีทางเลือกมากมายที่มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลข่าวที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบรับวิถีแห่งการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปของสังคมในยุคปัจจุบัน

สรุป บทที่ 3 เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


3.1 เครือค่ายคอมพิวเตอร์

          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)คือ เป็นระบบที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้ สือกลางและสามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคนทั่วโลก โดยใช้แอพลิเคชั่น เช่น เว็บไซต์การโอนย้ายไฟล์ (FTP) และการใช้อีเมล เป็นต้น



สรุป
                ในปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายคอมพวเตอร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วตลอดทั้งลดขนาดให้เล็กลงและมีความกระทัดรัดให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมต่างๆทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจอย่างไรก็ตามการนำไปใช้งานให้ได้อย่างมีระสิทธิภาพจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างการสื่อสารที่ดีเหมาะสมกับการสื่อสารแต่ละประเภทและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้

สรุป บทที่ 2 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


2.1 คอมพิวเตอร์ PC

            

คอมพิวเตอร์ (Computer) มาจากภาษาละตินว่า “Computer” มีความหมายว่า การนับ หรือ การคำนวณ สืบเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์ในยุค



2.2 โน๊ตบุ๊ค ในการสือสารที่ทันสมัย

สรุป

                คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการดพเนินงานของทุกๆ องค์กร เพราะ คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คอมพิวเตอร์มีหลากหลายประเภทการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานเป็นหลัก องค์ประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ระเบียบปฏิบัติ ข้อมูลปละสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีการจัดเตรียมคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คให้กับนักศึกษาทุกคน เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ทันสมัยและพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้มากยิ่งขึ้น
ดั่งเดิมเน้นการคำนวณทางด้านตัวเลข เป็นหลัก

สรุป บทที่ 1 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

    
                  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกัลข้อมูลข่าวสาร และได้ผนวกเอาเทคโนโลยีหลักสองสาขาไว้ด้วยกัน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารคมนาคม และอาจรวมถึงระบบอัตโนมัติระบบงานพิมพ์ และระบบโทรทัศน์ที่มีแนวโน้มจะผนวกเข้ากันด้วย
                   วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาที่ยาวนานมากกว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ หากสังเกตจะเห็นว่าในปัจจุบันการค้นคิดเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างเร็วมากจนผู้ใช้แทบจะตามไม่ทัน ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีส่วนช่วยทำให้มองภาพในอนาคตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ คือ วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม

1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร
1.2 การสือสารเกี่ยวกับข่าวสาร
 
สรุป
        ผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบบันและต่อไปในอนาคตจำเป็นที่จะต้องมีความู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุมเทคโนโลยีสองด้านคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเรื่องการเมือง เศรษฐกิจการศึกษา การทำงาน การรักษาโรค และการบันเทิง เป็นต้น ซึ่งความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้คนในประเทศใดๆ ก็ตามสามารถใช้เป็นตัวชื้วัดความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ส่วนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในองค์กรต้องกระทำอย่างรอบคอบ เพราะต้องลงทุนสูงและไม่ใช่ทุกองค์กรที่จะประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ สำหรับในระดับประเทศภาครัฐต้องทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ น.ส. พูลศิริ  ชีวะพฤกษ์    รหัส 51112517044

คณะ โรงเรียนการเรือน  สาขา คหกรรมศาสตร์

วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ  ตอนเรียน U1